วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง (อังกฤษSiamese fighting fishชื่อวิทยาศาสตร์: Betta splendens) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เป็นปลาทั่คนไทยรู้จักกันดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติักเรียกกันติดปากว่า ''ปลากัดทุ่ง'' หรือ ''ปลากัดลูกทุ่ง'' หรือ ''ปลากัดป่า'' จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำให้นิยมเลี้ยงใช้สำหรับกัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิดหนึ่งของคนไทย และ ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และความสามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ ''Siamese fighting fish''
ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้นเรียกว่า ''ปลากัดหม้อ'' นิยมเลี้ยงในภาชนะเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล, ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของการเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ''ปลากัดจีน'' ที่มีเครื่องครีบยาว ''ปลากัดแฟนซี'' ที่มีสีสันหลายสวยงาม ''ปลากัดคราวน์เทล'' หรือ ''ปลากัดฮาร์มูน'' เป็นต้น
วิธีการดูความพร้อมของปลากัดก่อนผสมพันธุ์
ตัวผู้
  1. ขอบเหงือกจะมีสีแดงเข้มขึ้น
  2. ก่อหวอดบนผินน้ำโดยมีฟองของหวอดเป็นกลุ่ม
  3. มีบุคคลิกที่กระตือรือร้นมากขึ้น
       ตัวเมีย
  1. ของเหงือกจะมีสีแดงเข้มขึ้น
  2. มีลายชะโด มีขีดเป็นเส้นเกิดขึ้นเป็นแนวขวางข้างลำตัว
  3. จุดไข่นำใต้ท้องเปลี่ยนจากสีขาวใสเป็นขาวขุ่นข้นขึ้น
  4. ท้องอูมเปล่งเหมือนคนท้อง
  5. ลักษณะการว่ายน้ำจะเปลี่ยนเป็นตัวต่ำ ๆ หางชี้ขึ้น
  6. ก่อหวอดเป็นเม็ดเล็ก ๆ แถวยาวเรียงที่ขอบเหลี่ยม แต่จะมีไม่มากเหมือนตัวผู้ก่อหวอด
วิธีการเพาะพันธุ์ปลากัด

1. เริ่มแรกต้องเตรียมตู้ใส ขนาดประมาณ 14 – 18 นิ้ว แล้วแต่ท่านจะสะดวกมาทำการเตรียมน้ำ  โดยน้ำที่ผมใช้นั้นก็เป็นน้ำประปาที่กักทิ้งไว้เป็นข้ามคืน  ให้ใส่น้ำลงไปในตู้ประมาณ 1/3  ของตู้  ไม่ใส่น้ำเยอะมากเกินไป เนื่องจากจะช่วยย่นระยะทางให้พ่อปลาเก็บไข่ไปไว้ที่หวอดให้สั้นลง ประกอบกับเพื่อให้ลูกปลาที่เกิดใหม่ไม่จมน้ำลึก  สำหรับบางท่านอาจใช้ภาชนะอื่นในการเพาะก็ได้นะครับแล้วแต่จะสะดวก แต่ที่ผมใช้ตู้ใสนั้นเพื่อจะได้มองเห็นปฏิกิริยาของปลารวมถึงสังเกตลูกปลาเวลาที่เป็นโรค จะได้รักษาทันท่วงทีครับ

2. ผมก็จะใส่เกลือลงไปในตู้สักเล็กน้อย สัก 1 ช้อนชาเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ และหาสาหร่าย เช่นสาหร่ายหางกระรอกสัก 1- 2 ต้น  เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในตู้ให้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด  ซึ่งการสร้างบรรยากาศในตู้เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้พ่อแม่พันธุ์ผสมกันได้เร็วขึ้น รวมถึงการวางมุมตู้หรือสถานที่และอุณหภูมิก็มีผลเช่นกันที่จะทำให้พ่อแม่ปลาไม่รัดกัน ไม่ควรวางตู้ให้ถูกแดด หรือสว่างมากจนเกินไป เป็นต้น

3. ฉีกใบหูกวางขนาด 3x3 นิ้ว  วางลงไปบนผิวน้ำให้มันลอยอยู่หน้าน้ำ เพื่อให้พ่อปลาก่อหวอดใต้ใบหูกวาง  ซึ่งใบหูกวางจะมีสารเทนนิน ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างของน้ำ และฆ่าเชื้อโรค รวมถึงช่วยลดความเครียดของปลากัดด้วย

4. เทคนิคที่ผมใช้อีกอย่างหนึ่งคือการใช้ออกซิเจน ผมก็จะหย่อนหัวทรายต่อออกซิเจนไว้ในตู้ แต่ยังไม่เปิดตอนนี้นะครับ  จะไปเปิดก็ตอนที่เห็นลูกมันว่ายออกจากหวอดครับ ทั้งนี้เป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ   ทำให้น้ำเสียช้าลง  เวลาลูกปลากินแล้วไม่อืดไม่ลอยหัว ทำให้ลูกปลากินได้ทั้งวัน  เป็นเหตุที่ทำให้ลูกปลาโตเร็วขึ้นครับ

5. เตรียมพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลากัดที่ท่านต้องการ  สำหรับอายุปลาที่จะนำมาผสมพันธุ์นั้น  ปกติผมมักจะใช้ปลากัดที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ในการเพาะ อย่างไรก็แล้วแต่ท่านต้องดูความพร้อมและขนาดของปลาด้วย  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์และการเลี้ยงดู  เพราะบางท่านปลา 2 เดือนอาจจะยังตัวเล็กมากเกินไป  ส่วนตัวเมียนั้นถ้าท่านเห็นฝักไข่ในท้องก็สามารถจับลงรัดได้แล้วครับ และไม่จำเป็นต้องรอให้แม่ปลาท้องเปล่งมากแล้วค่อยรัดครับ   และที่สำคัญต้องหาตัวเมียที่เล็กกว่าตัวผู้ ตัวเมียถึงจะยอมให้รัด และควรให้อาหารให้อิ่มก่อนทำการลงเพาะ  เนื่องจากผมจะงดอาหารพ่อแม่ปลาในช่วงระหว่างการผสมพันธุ์ครับ
บางท่านพบว่าแม่ปลากัดมีไข่ไหลลงมาเต็มเลยทั้งที่ยังไม่ได้เพาะกับตัวผู้  ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องปกติ  ไข่ที่ร่วงมาแล้วไม่ได้รับการผสมจากพ่อพันธุ์มันก็ไม่เป็นตัวครับ
6. ตักพ่อพันธุ์ปลากัดที่เราเตรียมไว้ใส่ไปในตู้เพาะที่เราเตรียม  หลังจากนั้นพ่อปลาก็จะเริ่มก่อหวอด แต่ถ้าหากพ่อปลาไม่ยอมก่อหวอด เราสามารถตักหวอดของปลากัดตัวอื่นมาใส่ไว้ในตู้ก็จะช่วยได้ หรือถ้าหากพ่อปลาไม่ยอมก่อหวอดก็ไม่เป็นไร เมื่อเวลาที่ใกล้จะผสม พ่อปลาก็จะเร่งสร้างหวอดเอง หรือถ้าหากไม่มีหวอดจริงๆ พ่อปลาก็สามารถวางไข่ให้ลอยบนน้ำได้ครับ ไม่มีปัญหา

7. ตักแม่พันธุ์ที่เราเตรียมไว้ลงไปในตู้ช่วงเวลาประมาณ 4-5 โมงเย็น พ่อปลาก็จะไล่กัดตัวเมีย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องหาแม่ปลาที่ตัวขนาดเล็กกว่าพ่อปลานะครับปลาตัวเมียถึงจะยอมให้ตัวผู้รัด  แต่ถ้าหากท่านหาตัวเมียใหญ่กว่า ผลก็คือตัวผู้ถูกตัวเมียไล่กัด  และไม่ยอมให้รัดแน่นอน ถ้าหากเห็นว่าตัวเมียไล่กัดตัวผู้เมื่อไหร่ต้องเอาออกแล้วเปลี่ยนคู่ใหม่ครับ   หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมผมไม่เทียบปลาก่อนจะลงรัดหรืออย่างไร  ซึ่งสำหรับผมนั้น ไม่เคยเทียบปลาก่อนการรัดเลยครับ เนื่องจากปกติแล้วธรรมชาติของปลากัดตัวเมียมีไข่ในท้องอยู่แล้ว การเทียบไม่ใช่เป็นการทำให้ตัวเมียท้องแต่เป็นการช่วยเร่งไข่ให้สุก  และเพิ่มความพร้อมของปลา ซึ่งหากท่านใดจะเทียบก่อนก็แล้วแต่ท่านสะดวกครับ

8. พอถึงช่วงสายของวันถัดไป ประมาณ 9 โมงเป็นต้น ถึงเที่ยงหรือบ่าย พ่อปลาก็จะทำการรัดแม่ปลาเป็นเวลานาน 4-5 ชั่วโมง  รัดกันช่วงแรกไข่ของแม่ปลาจะยังไม่ออก ต้องรัดไปได้สักระยะหนึ่งไข่จึงจะออกจากท้อง  พ่อและแม่ปลาก็จะช่วยกันเก็บไข่ไปไว้ใต้หวอด 

9. เมื่อพ่อปลารัดแม่ปลาจนเสร็จแล้ว พ่อปลาก็จะไล่กัดแม่ปลาและคอยไล่ไม่ให้แม่ปลามาอยู่ใกล้หวอด  จนตัวเมียเริ่มไปอยู่มุมตู้แล้ว  ก็ให้ท่านตักแม่พันธุ์ออก  โดยระวังอย่าไปโดนไข่หรือหวอดของลูกปลา

10. หลังจากเป็นไข่ อีก2 วันก็จะเป็นตัวห้อยหางออกมาจากหวอด ถัดจากนี้ไปอีก 2 วันลูกปลาก็จะเริ่มว่ายออกจากหวอดแล้ว  ผมก็จะเริ่มให้อาหารมื้อแรกที่ต้องให้ซึ่งเป็นมื้อสำคัญ โดยผมจะให้ลูกไรแดงหรือไรจืดใส่ลงไปในตู้  พ่อปลาก็จะได้กินอาหารมื้อแรกหลังจากวันรัดกันพร้อมๆกับลูกปลาเลยครับ  เวลาให้ลูกไรก็ไม่ต้องกรองเอาแต่ไรตัวเล็ก  ให้ท่านใส่ไปเลยทั้งไรตัวใหญ่นี่แหละครับ เพราะไรตัวใหญ่มันก็จะออกลูกของลูกไรอีกที  ซึ่งลูกปลาก็จะสามารถกินลูกของลูกไรอีกทีที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็นครับ ลูกไรเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกปลา  สำหรับท่านที่ไม่มีลูกไร  ท่านใช้อย่างอื่นทดแทน ไม่ว่าจะเป็น อาหารผง, ไข่ตุ๋น,ไข่แดง,เต้าหู้ไข่  แต่ควรระวังเรื่องน้ำเน่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ลูกปลาท่านตายได้ และแน่นอนครับลูกปลาท่านจะโตช้า และอัตราการรอดน้อยลงครับ   และในการให้อาหารมื้อแรกนี้ผมจะเริ่มเปิดออกซิเจนเบาๆ เน้นนะครับว่าเปิดเบาๆให้เบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไว้ไกลๆ หรือฝั่งตรงข้ามกับหวอดหรือลูกปลา  เป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ  ทำให้ลูกปลากินอาหารได้ดีขึ้น

11. หลังจากนี้ก็ต้องให้อาหารลูกปลาทุกวันวันละมื้อก็พอครับอย่าให้เยอะจนเกินไป ผมจะให้พ่อปลาดูแลลูกปลาในช่วง 10-15 วัน  พ่อปลามีความสำคัญในการเลี้ยงลูกอย่างมาก ถ้าหากลูกตัวไหนอ่อนแอ หรือตกจากหวอด พ่อปลาก็จะคอยอมลูกปลาแล้วไปพ่นไว้บนหวอด  อีกทั้งพ่อปลาจะคอยว่ายไล่ต้อนลูกปลาเมื่อลูกปลาว่ายออกจากหวอดแล้ว ถ้าหากตัวไหนอ่อนแอ พ่อปลาก็จะคอยว่ายอมลูกปลาเพื่อเป็นการรักษา ซึ่งบางท่านอาจเข้าใจผิดนึกว่ามันกินลูกปลาครับ

12. พอ 10 -15 วัน ก็เอาพ่อปลาออก ผมก็ให้อาหารตามปกติทุกวัน  ซึ่งประมาณสัปดาห์ที่ 4 ก็สังเกตน้ำถ้าน้ำเริ่มเน่า ก็ต้องดูดน้ำเก่าออก โดยใช้สายยางเล็กๆดูดน้ำเก่าและตะกอนออก และใส่น้ำใหม่เติมลงไป หรือถ้าหากปลาท่านแข็งแรงตัวโตแล้วก็ใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายน้ำทั้งหมดได้เลยครับ

13. หลังจากนั้นท่านก็ดูแลให้อาหาร เปลี่ยนน้ำ และคอยสอดส่องดูว่าลูกปลาเป็นโรคไหม จะได้รักษาได้ทัน ก็เป็นอันเสร็จสิ้นเรื่องของการเพาะและอนุบาลปลากัดเบื้องต้น
 ประเภทของปลากัด
1.ปลากัดสังกะสี และลูกหม้อ


เป็นปลากัดที่นักเพาะพันธุ์ปลาได้นำมาคัดสายพันธุ์ โดยมุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่าของหลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบ สุวรรณนคร) ซึ่งเป็นนักเลงปลาเก่าเชื่อว่า ปลาสังกะสีและปลาลูกหม้อน่าจะได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2430 โดยท่านจำได้ว่าก่อนหน้านั้นยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในฤดูแล้ง มาขังไว้ในโอ่ง และเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝน ก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่นำมาเลี้ยงไว้ไม่ได้ การเล่นปลาขุดยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ พ.ศ. 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกเรียกว่า "ปลาสังกะสีสีแดง" หรือ "ปลากัดสังกะสี" ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงาม ก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมาในชุดต่อไป จะได้ปลาที่เรียกว่า "ปลาลูกหม้อ" หรือ "ปลากัดหม้อ"
ที่เรียกว่า ปลาสังกะสี สันนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ขาดง่ายเมื่อถูกกัดเหมือนปลาป่า ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ มีสีสันลักษณะต่างจากปลาป่า แต่ส่วนมากมีชั้นเชิงและความอดทนในการกัดสู้ปลาลูกหม้อไม่ได้
ส่วนที่เรียกว่า ปลาลูกหม้อ นั้น น่าจะมาจากการนำหม้อดินมาใช้ในการเพาะและอนุบาลปลากัดในระยะแรกๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาโดยนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้ และมีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลาลูกหม้อมีรูปร่างหนาใหญ่กว่าปลาป่าและปลาสังกะสี ส่วนมากสีจะเป็นสีน้ำเงิน สีแดง สีเทา สีเขียว สีคราม หรือสีแดงปนน้ำเงิน ครีบหางอาจเป็นรูปมนป้าน หรือรูปใบโพธิ์ การเล่นปลากัดในสมัยก่อนนั้น ปลาลูกหม้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากครอกเดียวกัน ส่วนลูกสับหมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากต่างครอกกัน
เป็นปลาที่ได้รับความนิยมเล่น นิยมเลี้ยงไว้กัดกันมาแต่โบราณกาล มีรูปร่างและลำตัวที่ใหญ่กว่าปลากัดทุ่งและลูก ผสม มีปากใหญ่ ตัวใหญ่ สีเข้มเป็นปลากัดที่ได้รับ การยอมรับว่าเป็นปลาที่มีน้ำอดน้ำทนมากและยังกัดได้เก่งทนทรหดได้ดี กว่าปลากัดชนิดอื่น ๆ ดังนั้นปลากัดหม้อจึงเป็นปลากัดที่มีผู้เลี้ยงกันมากกว่าปลากัดทุ่งและ ปลาลูกผสม เพราะ ความที่ปลากัดหม้อ เป็นปลากัดที่มีเลือดของนักสู้เกิน 100 และยังมีประวัติการเป็นนักสู้เป็นที่ประจักษ์แก่นักเล่นปลามาแต่สมัยโบราณมาจนทุกวันนี้
   รูปร่างลักษณะหม้อที่มีชื่อเสียงดีและมีประวัติการกัดเก่งที่ได้พิสูจน์กันมาแล้วว่าเป็นปลากัดที่ดีเลิศ ปากคม และกัด ทน มี 3 รูปลักษณะ คือ 
       1. ปลากัดหม้อรูปปลาช่อน สังเกตได้จากลักษณะปลาที่มีหน้าสั้น ลำตัวหนา ช่วงหัวยาว และโคนหางใหญ่ ซึ่งได้ แสดงถึงความเป็นปลาที่มีพละกำลังมาก กัดได้รุนแรง และมีประวัติการกัดชนะเป็นอันดับหนึ่ง 
       2. ปลากัดหม้อรูปปลากราย สังเกตได้จากลักษณะของปลาทีมีหน้าหงอนขึ้น ลำตัวสั้นและแบนเป็นปลาที่ว่ายหรือ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วและกัดได้ไวซึ่งนับ ได้ว่าเป็น ปลากัดที่มีประวัติศาสตร์การกัดไดัเสมอเหมือนกัน 
       3. ปลากัดหม้อรูปปลาหมอสังเกตได้จากลักษณะของตัวปลาที่มีรูปร่างคล้ายๆกับปลากราย แต่มีหน้ากลมและลำตัว สั้น เป็นปลาที่เล่าขานกันว่าเป็นปลาที่ทรหด อดทน และกัดได้ไว ถือได้ว่าเป็นปลาทีมีประวัติการกัดดีมากตัวหนึ่ง 
        นอกจากจะดูที่รูปร่างและสีสันของปลากัดที่ดีเลิศแล้ว และยังจะต้องดูลักษณะของปลาตรงตามตำราแล้วก็จะต้องมีสี ตรงตามตำราอีก และไม่มีเกล็ดสีแดงแซม เลยหรือ ถ้าเป็นปลาออกสีแดงเข้มออกดำก็จะต้องไม่มีเกล็ดเขียวแซมเช่นกัน ปลา ที่มีสีสันและรูปร่างตรงตามตำราเช่นนี้จัดว่าเป็นปลาที่มีลักษณะดีเยี่ยมปลากัดหม้อไม่ เหมือนปลากัด ลูกทุ่ง เพราะไม่อาจ จะไปช้อนเอาจากริมคลองหนองบึงหรือแอ่งตีนควายไม่ได้ เพราะปลากัดหม้อไม่ได้มาจากการเพาะพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ที่ดี มา หลายชั่วอายุคน ซึ่งได้ แสดงถึงภูมิปัญญาคนไทยโบราณจนได้ปลากัดที่มีรูปร่างแข็งแรงลำตัวหนา และยังว่ายน้ำได้ปราด เปรียวและมีสีสันสวยงาม ตลอดระยะเวลา ของการคัดพันธุ์ได้วางเป้าหมาย ไว้เพื่อที่จะให้ได้ปลาเพื่อการต่อสู้โดยเฉพาะ เพราะ ฉะนั้นการหาปลากัดหม้อมาเลี้ยงและผสมพันธุ์ขึ้นเองโดยจะต้องหาปลากัด ทั้งตัวผู้และตัวเมียที่มีความทรหดปากคคมกัด เก่งและยังต้องเลือกปลากัดหม้อพันธุ์แท้จริงๆ เพราะถ้าตัวหนึ่งเป็นปลากัดหม้อแต่อีกตัวหนึ่งเป็นพันธุ์อื่นๆ ลูกที่ได้มา จะเป็นปลากัดลูก ผสมไป จะเสียทั้งราคาและศักดิ์ศรี 
ปัจจุบันได้แบ่งสีของปลากัดหม้อไว้ 3 ประเภท คือ 
          1. สีเดียว (Solid Colour) 
2. สองสี (Bi-Colour) 
3. หลากสี (Multi-Colour) 

แต่โบราณกาลนั้นปลากัดหม้อถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อกัดในชุมชน และต่อมาได้พัฒนาเป็นการเพาะพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ โดยแบ่งปลา กัดหม้อออกเป็น 2 ประเภท คือปลาเก่งและปลาโหลปลาเก่ง คือปลาที่เพาะพันธุ์ขึ้นเพื่อการพนันโดยตรง จะต้อง เป็นปลาที่กัดได้ไว คม กัดถูกเป้าหมายสำคัญและทน ทานปลาโหล คือ ปลาที่เพาะเชิงปริมาณ ไม่เน้นความสามารถในการกัด แต่เพื่อเป็นงานอดิเรกเป็นหลักหรือเรียกว่าเลี้ยงเอาไว้ดูเล่นเพลิน ๆ ตาดีเท่านั้นปัจจุบันได้มีการ เพาะพันธุ์ปลาหม้อเพิ่มอีก รูปแบบหนึ่งออกมาก็คือเพาะเพื่อให้ได้สีที่ต้องการ เช่น สีเดียวหรือสีแปลก ๆ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก 
เป็นที่เข้าใจกันว่าปลากัดหม้อมีจำหน่ายภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่งออกได้ไม่มากนัก เนื่องจากโลกนิยม ตะวันตกไม่นิยมการกัดปลา เพราะมองว่าเป็น การทรมานสัตว์แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีชาวเอเซียไปอยู่ในโลกตะวันตกกัน มากขึ้น จึงทำให้ปลากัดหม้อเริ่มเป็นที่นิยมของคนเอเซียในต่างประเทศ และขณะเดียว กันนั้นชาวตะวันตกทั้งในยุโรปและทวีป อเมริกาก็เริ่มให้ความสนใจกับปลากัดหม้อกันมากขึ้น น่าจะทำให้ไทยมีโอกาสจะส่งออกได้อีกมากก็ได้
2.ปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง















เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหางมีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อน ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียว ๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบจะเป็นสีน้ำตาลด้าน ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า "ปลาป่า" หมายความรวมถึงปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย
     ลักษณะเด่นๆของปลากัดป่าอีสาน หรือปลากัดลูกทุ่งอีสานเกล็ดตลอดทั้งลำตัวมีสีเขียวเงาๆ รวมทั้งบริเวณโคนและก้านครีบหาง ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ก็บ่งบอกลักษณะเด่นข้อนี้ได้ตรงตัวอยู่แล้ว(Smaragdina: สีเขียว(ละติน)) ลำตัวค่อนข้างยาว ปราดเปรียว การเคลื่อนไหววุบวับวุบวับ ต่างจากปลากัดสายพันธ์ที่พัฒนาแล้ว ซึ่งลักษณะของลำตัวค่อนข้างจะอ้วนกลม ไม่ปลาดเปลียวเท่ากับปลากัดป่าอีสาน อาธิเช่น ปลากัดสายพันธุ์ที่พัฒนาแล้วที่มีชื่อว่า Half Moon Phakad(HMPK:เป็นการผสมปลากัด 2 สายพันธุ์ที่พัฒนาแล้วเข้าด้วยกัน ซึ่งก็คือ ปลากัดสายพันธุ์ที่ชื่อว่า Half Moon(HM) ผสมข้ามสายพันธ์กับปลากัดลูกหม้อของไทย (Pk)) ส่วนลักษณะเด่นๆอีกอย่างนึงที่ปลากัดลูกทุ่งสายพันธ์อีสานบ้านเฮามี คือ สีแก้ม จะเป็นเกล็ดสีเขียวเงาเรียงตัวกัน เหมือนแก้มของงูเห่า ซึ่งถ้าลองสังเกตุปลากัดป่าชนิดนี้ให้ดีๆจะเห็นว่ามีลักษณะหัวและหน้าคล้ายของงูเห่า
     ถิ่นที่อยู่อาศัย : พบได้ทั่วๆไปในภูมิภาคอีสาน ตามที่นา ที่ลุ่มน้ำขัง ตามปลักควาย และน่าสังเกตุว่าปลิงมักจะเยอะไปด้วย จังหวัดที่พบก็เช่นหนองคาย นครราชสีมา ยโสธร บุรีรัมท์ เป็นต้น ซึ่งปลากัดลูกทุ่งอีสานแต่ละที่ที่พบ จะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ซึ่งขึ้นกับสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัย แต่โดยภาพรวมแล้วจะมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมา



ยังมีปลาป่าอีสานอีกชนิดที่น่าสนใจคือปลากัดป่ากีต้า...
ปลากีต้านี้สามารถกระดิกตะเกียบ(Pelvic fins:ลักษณะแหลมเป็นคู่ใต้ตัวปลา)ไปมาคล้ายๆคนดีดกีต้าร์ขณะพอง จึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อ และจุดสังเกตุอีกจุดก็คือหางของปลากัดป่ากีต้าร์จะแตกต่างกับปลากัดป่าอีสานทั่วๆไป
นอกจากจะมีการอนุรักษ์สายพันธุ์ปลากัดลูกทุ่งอีสานสายดั้งเดิมไว้แล้วนั้น ด้วยฝีมือคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดใหม่ๆขึ้นมา โดยนำเอาปลากัดลูกทุ่งอีสานไปผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาสายพันธุ์อื่น ซึ่งนับเป้นการพัฒนาวงการปลากัดไทยซึ่งได้ปลาที่มีลักษณะสวยงาม

3.ปลากัดจีน






ปลากัดจีนเป็นปลากัดพื้นเมืองในไทยเรานี่เองเกดขึ้นได้ เนื่องจากการที่ผู้นำปลากัดที่มีรูปร่างสวยงามสีสันสดสวยมา เลี้ยงเพื่อความสวยงาม เลี้ยงเพื่อดูเล่นโดย คัดพันธุ์ที่มีครีบยาว สีสวยและปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หางปลากัดตัวผู้สามารถ แผ่ออกได้ถึง 180 องศา หรือครึ่งวงกลมและยังได้พัฒนาก้านหางจากสองแฉก ธรรมดา ให้มีจำนวน 5 แฉก หรือมากกว่านั้น เพื่อเป็นตัวช่วยแผ่ความกว้างของหางมากขึ้น และยังได้พัฒนาลักษณะของหางให้มีสองแฉกแยกจากกันเรียกว่าหางคู่ (Double tail) และยังมีอีกชนิด หนึ่งเป็นหางที่มีลักษณะบานออกเหมือนปากอ่าว (Delta tail)
ปัจจุบันเมืองไทยได้สามารถผลิตปลากัดที่มีสีสัน เช่นสีเขียว สีม่วง แดง น้ำเงิน ฯลฯ หรือผสมระหว่างสีดังกล่า ครีบต่างๆยกเว้นครีบอกยื่นยาวออกเป็นพวง โดย เฉพาะครีบที่หางให้มีความยาวพอๆกับความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน แต่อย่างไรก็ดีปลากัดที่ฝรั่งตะวันตกได้นำไปจากเมืองไทยได้มีการพัฒนาการในด้าน รูปร่าง และสีสันกันมานาน แล้วจนได้ปลากัดที่มีสีเพิ่มมากขึ้นและมีความสวยงามมากขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย ดัวเช่นในญี่ปุ่นได้ทำมานานเล้ว ในการบีบสี ของปลาให้ได้ตามความต้องการด้วยการใช้เทคนิคการบีบสีของปลากัดแต่ก็ได้ใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งกว่าจะ ได้ปลาสีที่ต้องการกก็ต้องใช้เวลา 4-5 รุ่นขึ้นไป และยังมีการใช้เทคนิคการฉีดยีนส์สีของปลาที่ต้องการเข้าไปในปลากัดตัวเมีย ซึ่งเทคนิคนี้ต้องใช้ความชำนาญและใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งในต่าง ประเทศเช่นญี่ปุ่นทำได้แล้ว แต่เมืองไทย ของเรายังไม่มีการใช้วิธีนี้เพราะต้องลงทุนสูงแต่ผลผลิตที่ได้มีความแน่นอนและรวดเร็ว ซึ่งคาดกันว่าในอนาคตอันใกล้เมืองไทยคงมีการนำเทคนิคดังกล่าว เข้ามาใช้หรือไม่ก็จะต้องใช้เทคนิคในการปรับปรุงสายพันธุ์ปลากัดด้วยวิธีอื่นๆมาใช้

สีของปลากัดจีนในปัจจุบันได้แยกไว้เป็น 3ประเภทคือ


1. สีเดียว(Solid color)

2. สองสี (Bi-color)

3. หลากสี (Multi-Color)

ปลากัดสีเดียว หมายถึงปลากัดที่มีครีบและลำตัวเป็นสีเดียวกันทั้งหมด โดยไม่มีสีอื่นปะปนอยู่เลยยกเว้นปลากัดสีเกียว เขม่าดำจากปากจรดครีบหูเส้นของครีบและขอบ เกล็ด ของปลาจะเป็นสีใดก็ได้ส่วนตะเกียบท้องอนุโลมให้มีสีอื่นได้ แต่ปลา กัดสีเผือกทั้งตัวครีบท้องจะมีสีอื้นไม่ได้ ครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบเงากระจกได้
ปลากัดสองสี หมายถึงปลาที่มีตัวและครีบสีต่างกันโดยลำตัวและครีบมีสีเดียวที่แตกต่างกัน รวมถึงปลาที่มีลำตัวเผือกและสี เดียวด้วย ยกเว้นเขม่าจากปากจรดโคน ครีบหูและ เส้นของครีบของปลาจะเป็นสีใดก็ได้ตะเกียบ(ครีบท้อง)อนุโลมให้มีสีอื่นๆได้ครีบหูอนุโลมให้เป้นครีบกระจกได้
หมายถึงปลาที่มีสีขึ้นไปในส่วนของลำตัวและหรือมีสองสีขึ้นไปในส่วนของครีบที่เป็นกระจกถือเป็นส่วนหนึ่งสียกเว้นเขม่าดำจากปากจรดโคน ครีบ หูและเส้น ครีบปลาจะเป็นสีใดก็ได้ตะเกียบ อนุโลมให้มีสีอื่นได้ ครีบของหูอนุโลมให้เป็น ครีบกระจกทั้งสองครีบได้

แต่อย่างไรก็ดี บางตำราแบ่งสีออกเป็นถึง 6 รูปแบบคือ


1. สีเดียว (Solid Colored Betta) เป็นสีเดียวทั้งครีบและตัว
2. สีผสม (Bi-Colored Betta) ส่วนใหญ่จะมีสองสีผสมกัน
3. สีผสมเขมร (Cambodia Colored Betta)
4. ลายผีเสื้อ (Buterfly Colored Betta)
5. ลายผีเสื้อเขมร (Cambodain Butterfly Colored Betta)
6. ลายหินอ่อน (Meable Colored Betta)

ปัจจุบันการเพาะพันปลากัดจีนมุ่งเป้าหมายเน้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก เพราะชาวต่างประเทศชื่นชอบความสวยงาม ของหางที่แผ่กว้างได้สวยงาม ตามตำนาน กล่าว ว่าปลากัดจีนนั้นบรรพบุรุษ ของเราได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยปี มาแล้ว เพราะฝรั่งได้พูดถึงปลากัดหางยาวเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณร้อยปีก่อน แสดงว่าในประ เทศไทยเราได้พัฒนาปลากัดจีนมานานกว่านั้นปลาจีนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีรูปร่างสีสันทีสวยงามมากขึ้น มีครีบหลัง ครีบหาง ก้นค่อนข้าง ยาว และพร้อม กันก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ด้วยการนำสายพันธุ์ผมกันเอง และนำสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาผสมจนได้สาย ปลากัดที่สวยงามกังที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้
จากการศึกษาปลากัดพันธุ์ใหม่ที่ได้ของพบว่าทั้งปลากัดครีบยาวและครีบสั้นต่างก็อยู่ในประเภทเดียวกันเพราะมีลักษณะ โคโมโซมเดียวกัน นอกจากนั้นยังพบว่า ปลากัด ที่มีครีบยาวและครีบสั้นสามารถผสมพันธุ์กันไดั โดยที่เปอร์เซ็นต์การฟักเป็นตัว และอัตราการอยู่รอดของลูกผสมที่เกิดมากไม่มีความแตกต่างไปจากลูกปลาที่เกิดจากการผสม พันธุ์ระหว่างปลากัดพวกเดียวกันแต่อย่างใดระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา จากกระแสความต้องการเลี้ยงปลาสวยงามมีมากขึ้นตามลำดับทั้งนี้อาจจะเป็น
เพราะสภาพทางเศรษฐกิจหรือสภาพสังคมทำให้เกิด ความ เครียดและหาทางออกโดยกสฃารหันมาหาสิ่งที่สวยงามหรือสิ่งจรรโลงใจกันมากขึ้นเพื่อช่วยผ่อน คลายอารมณ์การทำงานหนัก ดังนั้นระยะเวลาที่ผ่าน มาสัตว์น้ำในกลุ่ม ปลาสวยงามหลายชนิดมีอนาคตดีขึ้นจนทำให้ผู้เลี้ยงสามารถหันมายึดเป็นอาชีพได้และทำรายได้ให้ผู้เลี้ยงได้ดีพอสมควร ซึ่งรวมถึงปลากดซึ่งไม่เพียงแต่จะกัดเก่งเพียง อย่างเดียว แตต่ก็มีความสวยงามชนิดหนึ่งที่ในขณะนี้สามารถจะกล่าวได้ว่าปลากัดมีความโดดเด่นเป็นพิเศษกว่าสัตว์น้ำตัวอื้นๆหลายตัวก็ได้เพราะ ปลากัดได้รับความสนใจ ไปเกือบทุกระดับในประเทศ และยังมีตลาดใหญ่ทั่วโลกต้องการปลากัดคุณภาพดีอีกมากด้วย

       4.ปลากัดหางมงกุฎ หรือ ปลากัดคราวน์เทล (Crowntail)


เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. 2543 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวอินโดนีเซีย เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหางจักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่น ๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ

ลักษณะหางของปลากัดคราวน์เทล

หลายคนคงรู้จักปลากัดประเภทคราวเทล (Crown Tail) ซึ่งเป็นปลากัดที่มีลักษณะแปลกกว่าปลาประเภทอื่น คือ ลักษณะของครีบกระโดง หางหลัง และชายน้ำล่าง จะมีลักษณะเป็นหนาม จุดเด่น หรือเสน่ห์ของปลากัดคราวเทล คือ หนามที่เรียงเป็นระเบียบ แต่ละเส้นแต่ละก้านที่แตกออกอย่างเป็นระเบียบราวกับว่าใครได้นำมีด หรือกรรไกรบรรจงกรีดตัดแต่ง อย่างสวยงามด้วยความชำนาญ ดังนั้นจึงขอนำเรื่องราวของลักษณะหางปลากัดประเภทคราวเทลว่าหางของปลากัดคราวเทลนี้มีลักษณะอย่างไรบ้าง
     ลักษณะของหางปลากัดคราวเทลนั้นสามารถแบ่งแยกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
ประเภทที่ 1. ลักษณะหนามเดี่ยว
ลักษณะหนามเดี่ยว คำว่าหนามเดี่ยวของปลากัดคราวเทลนี้เราต้องมาว่ากันตั้งแต่ก้านหนามที่เริ่มต้นจากโคนหางปลา คือ ลักษณะของก้านหนามจะเริ่มต้นที่โคนหางเป็นเส้นเดี่ยวสังเกตเห็นได้ชัดจากก้านหนามที่ออกจากโคนหางปลากัดคราวเทลจะมีก้านหนามประมาณ 9 - 12 ก้าน จากโคนหางปลา จากก้านเดี่ยวที่ออกจากโคนหาง และแยกออกเป็น 2 ก้านยาว จนสุดปลายหาง ซึ่งคำว่าหนามเดี่ยวนี้หมายความว่าลักษณะพังผืด หรือเนื้อหางที่ห่อหุ้มก้านหนาม ซึ่งดูเหมือนลักษณะของหนามจะห่อหุ้มก้านหนามที่แตกออกจนมาถึงรัศมีของเนื้อหาง หรือพูดง่าย ๆ หนามเดี่ยวก็คือหนามที่แทงออกมาจากรัศมีของเนื้อหางออกมามีลักษณะเหมือนหนามเป็นเส้นเดี่ยว
ประเภทที่ 2. ลักษณะหนามคู่
ลักษณะหนามคู่ ประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายกับประเภทที่ 1 คือจะมีก้านหางออกจากโคนหางปลาประมาณ 9 - 12 ก้าน จากนั้นก็จะมาแยกแตกจากก้านเดี่ยวออกมาเป็น 2 ก้าน ซึ่งแยกฉีกออกจากกัน ลักษณะของหนามคู่จะดูพิเศษกว่าตรงที่ว่าก้านหนามที่แตกออกเป็น 2 ก้าน จะมีเนื้อเยื่อ หรือเนื้อพังผืดห่อหุ้มก้านหนามที่แตกออกมาเกินออกไปจากรัศมีของเนื้อหางพอประมาณ จากนั้นก็จะแยกออกจากกันเป็นสองหนาม ซึ่งเรียกลักษณะของก้านหางประเภทนี้ว่าประเภทหนามคู่
     ลักษณะหนามคู่ของปลากัดคราวเทลที่แยกออกมามากเป็นจุดสร้างเสน่ห์ให้กับปลากัดคราวเทล ซึ่งลักษณะหนามคู่ที่ดูสวยงามเป็นเสน่ห์ที่สุด คือ หนามประเภทไขว้กัน หรือที่เรียกกันว่า คิงคราวเทล (King Crowntail) ลักษณะเช่นนี้จะค่อนข้างหาดูได้ยากมาก และโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาของปลาคิงคราวเทลนี้มีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก
ประเภทที่ 3. ลักษณะหนามสาม หรือหนามสี่
ลักษณะของหนามสาม หรือหนามสี่เป็นปลาที่มีลักษณะของก้านหนามที่ยื่นออกจากโคนหางเป็นก้านเดี่ยวยาวออกไปจากโคนหางแล้วแตกออกเป็น 2 ก้าน และจาก 2 ก้านก็แยกแตกออกอีก 1 ก้าน หรืออาจจะไม่แตกก็ได้ เราเรียกลักษณะหนามปลาประเภทนี้ว่า หนามสาม หรือหนามสี่ จริง ๆ แล้วลักษณะการแตกออกมาจาก 2 ก้านนั้น เกิดขึ้นจากการไขว้สายพันธุ์โดยการนำปลากัดคราวเทลไปผสมพันธุ์กับปลากัดฮาร์ฟมูนจะเพื่อจุดประสงค์อะไรก็ตามทำให้ก้านหนามปลากัดคราวเทลซึ่งเคยแตกออกมาเป็น 2 ก้าน โดยแยกย่อยออกมาจากก้านแรกที่โคนหางเปลี่ยนไปเป็นแตก 3 หรือ แตก 4 ซึ่งลักษณะของหนามที่แตกสี่เป็นระเบียบทุกก้านก็จัดว่าเป็นปลาคราวเทลที่สวยงามได้เช่นกัน


นอกจากลักษณะของหางประเภทต่าง ๆ ของปลากัดคราวเทลที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อความสวยงามของปลากัดคราวเทลซึ่งต้องคำนึงถึง นั่นคือลักษณะของหนามอ่อน และหนามแข็ง (เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกกันในวงการปลากัด) ปลากัดคราวเทลที่มีลักษณะหนามอ่อน จะทำให้ปลามีความสวยงามยามปลาพอง แต่ในยามที่ปลาไม่พองก็ไม่น่าดูได้เช่นกัน นอกจากนี้ปลากัดคราวเทลหนามอ่อนยังไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ เนื่องจากจะส่งผลให้ลูกปลาที่ได้มีหนามอ่อนไปด้วย จึงไม่ควรนำปลากัดคราวเทลหนามอ่อนมาเป็นพ่อพันธุ์ยกเว้นไม่มีทางเลือกจริง ๆ 
     สำหรับปลากัดคราวเทลหนามแข็งนั้นจัดเป็นปลาที่มีเสน่ห์อย่างมาก แม้เวลาไม่พองก็ยังดูสวย และเหมาะที่จะนำมาทำเป็นพ่อพันธุ์ ปลากัดคราวเทลที่มีหนามแข็งผู้เลี้ยงจะต้องระมัดระวังเรื่องหนามหัก เพราะปลาหนามแข็งก้านหนามมีโอกาสที่จะหักได้ตลอดเวลาฉะนั้นต้องระวังให้ดี เพราะหากเป็นปลาตัวที่มีความสวยมาก ๆ เกิดพลาดหางหักขึ้นมาบอกได้คำเดียวว่าหมดราคาปลาได้เลย โดยเฉพาะหากเลี้ยงปลากัดคราวเทลหนามแข็งตัวผู้ไว้ในเหลี่ยมแก้ว หรือตู้ปลา ไม่ควรนำเหลี่ยมแก้วที่มีปลาตัวเมียมาไว้ใกล้เคียง เพราะมันจะพอง และสะบัดหางไปกระแทกกับเหลี่ยมแก้ว หรือตู้ทำให้หนามหักได้ โดยเฉพาะในปลาที่มีหนามแข็งมาก ๆ จะหักได้ง่ายมาก ต้องคอยระวังให้ดี

      5.ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือ ฮาล์ฟมูน (Halfmoon)


ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือปลากัดฮาล์ฟมูนเดลตาเป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ได้มีแนวคิดและความพยายามในการที่จะพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน
ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง ๒ ครั้ง เป็น ๔ แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัวและครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น ๒ แฉกจะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม ๑๘๐ องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม

      6.ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือ ปลากัดเดลตา (Delta)

ปลากัดหางสามเหลี่ยม

เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม 45 - 60 องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก "ซูเปอร์เดลตา" ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง